เมนู

อรรถกถาอุปัชฌายสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอุปัชฌายสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มธุรกชาโต แปลว่า มีความหนักเกิดขึ้น. บทว่า ทิสา จ
เม น ปกฺขายนฺติ
ความว่า ภิกษุกล่าวว่า ทิศใหญ่ 4 ทิศ และทิศน้อย
4 ทิศ ไม่ปรากฏแก่กระผม. บทว่า ธมฺมา จ มํ นปฺปฏิภนฺติ ความว่า
แม้ธรรมคือสมถะและวิปัสสนาก็ไม่ปรากฏแก่กระผม. บทว่า อนภิรโต จ
พฺรหฺมจริยํ จรามิ
ความว่า กระผมเป็นผู้กระสันแล้วอยู่ประพฤติพรหมจรรย์.
บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า อุปัชฌาย์ฟังถ้อยคำของภิกษุ
นั้นแล้ว คิดว่า ภิกษุนี้เป็นพุทธเวไนยบุคคล จึงเข้าไปเฝ้ากราบทูลเหตุการณ์
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อวิปสฺสกสฺส กุสลานํ ธมฺมานํ ความว่า
ผู้ไม่เห็นแจ้งอยู่ซึ่งธรรมอันเป็นกุศล คือไม่แสวงหา ไม่เสาะหาอยู่. บทว่า
โพธิปกฺขิกานํ ได้แก่ ธรรม 37 ประการมีสติปัฏฐานเป็นต้น.
จบอรรถกถาอุปัชฌายสูตรที่ 6

7. ฐานสูตร


ว่าด้วยฐานะที่ควรพิจารณาเนือง ๆ 5 ประการ


[57] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ 5 ประการนี้ อันสตรี บุรุษ
คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ 5 ประการเป็นไฉน คือ สตรี
บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา

ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ 1 เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ
เจ็บไข้ไปได้ 1 เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ 1 เรา
จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น 1 เรามีกรรมเป็นของตน เป็น
ทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง
จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น 1.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ
คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา
ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความเป็นหนุ่ม
สาวมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย
วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความมัวเมาในความ
เป็นหนุ่มสาวนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึง
ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เราไม่มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไป
ได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ
คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็น
ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาใน
ความไม่มีโรคมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลาย ประพฤติทุจริต
ด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความมัวเมา
ในความไม่มีโรคนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควร
พิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้
พิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้
ไปได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ
คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา
ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในชีวิตมีอยู่แก่สัตว์
ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อ
เขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความมัวเมาในชีวิตนั้นได้โดยสิ้นเชิง
หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความ
ตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ
คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจาก
ของรักของชอบใจทั้งสิ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความรักใคร่ใน
ของรักมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย
วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความพอใจ ความรัก
ใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิงหรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย
อำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณา
เนือง ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ
คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็น
ที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเขา
พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละทุจริตได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลง
ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ

คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็น
ที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เรา
แต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ โดยที่แท้
สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความแก่เป็น
ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่
เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรค
นั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
ย่อมสิ้นไป.
อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้น ที่
มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้ง
ปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความเจ็บไข้เป็น
ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่
เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรค
นั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
ย่อมสิ้นไป.
อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มี
ความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดา
ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วง
พ้นความตายไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ มรรคย่อม
เกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรบ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ
อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่จะ
ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มี
การมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบ
ใจทั้งสิ้น เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น
อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้
มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.
อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มี
กรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่า-
พันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับ
ผลของกรรมนั้น โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดา ที่มีการมา การไป การจุติ
การอุบัติ ล้วนมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม
จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ
มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีความแก่เป็น
ธรรมดา มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา มี
ความตายเป็นธรรมดา สัตว์ทั้งหลายย่อม
เป็นไปตามธรรมดา พวกปุถุชนย่อมเกลียด
ถ้าเราพึงเกลียดธรรมนั้น ในพวกสัตว์ผู้มี
อย่างนั้นเป็นธรรมดา ข้อนั้นไม่สมควรแก่
เราผู้เป็นอยู่อย่างนี้ เรานั้นเป็นอยู่อย่างนี้
ทราบธรรมที่หาอุปธิมิได้ เห็นการออก

บวชโดยเป็นธรรมเกษม ครอบงำความมัว
เมาทั้งปวงในความไม่มีใคร ในความเป็น
หนุ่มสาว และในชีวิต ความอุตสาหะได้
มีแล้วแก่เราผู้เห็นเฉพาะซึ่งนิพพาน บัดนี้
เราไม่ควรเพื่อเสพกามทั้งหลาย จักเป็นผู้
ประพฤติไม่ถอยหลัง ตั้งหน้าประพฤติ
พรหมจรรย์.

จบฐานสูตรที่ 7

อรรถกถาฐานสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ชราธมฺโมมฺหิ แปลว่า เราเป็นผู้มีความแก่เป็นสภาพ. บทว่า
ชรํ อนตีโต ความว่า เราไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ย่อมเที่ยวไปในภายใน
ความแก่นั่นเอง. แม้ในบททั้งหลายที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ในบททั้งหลายว่า
กมฺมสฺสโก เป็นต้น กรรมเป็นของเรา คือเป็นของมีอยู่ของตน เพราะฉะนั้น
เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นของตน. บทว่า กมฺมทายาโท แปลว่า เราเป็นทายาท
ของกรรม อธิบายว่า กรรมเป็นมรดก คือเป็นสมบัติของเรา กรรมเป็น
กำเนิดคือเป็นเหตุเกิดของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นกำเนิด.
กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์.
อธิบายว่ามีกรรมเป็นญาติ. กรรมเป็นที่อาศัย คือเป็นที่พึ่งของเรา เพราะฉะนั้น